สุพิญญา โภชกรณ์

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พิธีทบทวนคําปฏิญาณและสวนสนาม

1. กองลูกเสือ เนตรนารี จากสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาตั้งแถวในสนาม
2. -ประธาน (ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา) มาถึง และขึ้นยืนบนแท่นเคารพ 
     -ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง “ลูกเสือ – ตรง” “ทำความเคารพผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา” “ตรงหน้า, ระวัง วันทยา – วุธ”
-วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ จบเพลงมหาฤกษ์ 

     -ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง “เรียบ – อาวุธ” (ทุกคนยังคงยืนอยู่ในท่าตรง)
3. -ประธานเดินไปหน้าโต๊ะหมู่ที่ตั้งพระบรมฉายาลักษณ์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ ถวายความเคารพ (วันทยหัตถ์)     -ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ลูกเสือ, ถวายความเคารพแด่พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ”, “ตรงหน้า , ระวัง”
-ประธานเปิดกรวยดอกไม้ถวายราชสักการะ เสร็จแล้ว ถอยหลัง 1 ก้าว ถวายความเคารพ 
(วันทยหัตถ์)  ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “วันทยา – วุธ”
-วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมี จบเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “เรียบ – อาวุธ” “ ตามระเบียบ , พัก”4. ประธานขึ้นยืนบนแท่นเคารพ รองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษากล่าวรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี5. ประธานมอบโล่แก่ผู้มีอุปการคุณ หรือเกียรติบัตรแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น หรือเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์แก่ลูกเสือ6. ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา นำลูกเสือทบทวนคำปฏิญาณ
scout-oath
“ลูกเสือเตรียมกล่าวคำปฏิญาณ , ตรง”     “ลูกเสือสำรอง กล่าวคำปฏิญาณตามข้าพเจ้า” (ทุกคนแสดงรหัส ลูกเสือสำรองทำวันทยหัตถ์ ขณะทบทวนคำปฏิญาณให้ประธานหันหน้าไปยังโต๊ะหมู่ที่ตั้งพระบรมฉายาลักษณ์และแสดงรหัส)     “ข้าสัญญาว่า /       ข้อ 1 / ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ / ศาสนา / พระมหากษัตริย์ /       ข้อ 2 / ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง / และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน” / (ทุกคนลดมือลง อยู่ในท่าตรง)
“ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ (ถ้ามี) และเนตรนารี (ถ้ามี) กล่าวคำปฏิญาณตามข้าพเจ้า” (ทุกคนแสดงรหัส ลูกเสือสำรอง ทำวันทยหัตถ์)
     “ด้วยเกียรติของข้า / ข้าสัญญาว่า /
        ข้อ 1 / ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ / ศาสนา / พระมหากษัตริย์ /
        ข้อ 2 / ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ /
        ข้อ 3 / ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ” /
        (ทุกคนลดมือลง อยู่ในท่าตรง)
7. -ประธานให้โอวาท จบคำให้โอวาท ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ตรงหน้า, ระวัง วันทยา – วุธ” 
     -วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ จบเพลงมหาฤกษ์ ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “เรียบ – อาวุธ” (ทุกคนในสนามยังคงยืนอยู่ในท่าตรง)
8. แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณเตรียมสวนสนาม 2 ครั้ง ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “ลูกเสือเตรียมสวนสนาม” “แบก – อาวุธ”
9. แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณหน้าเดิน 2 ครั้ง ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “เลี้ยวขวา, หน้า – เดิน”
10. ขบวนลูกเสือ-เนตรนารี เดินสวนสนาม
-เมื่อถึงธงที่ 1 สีเหลือง (ธงเตรียมทำความเคารพ) 
รองผู้กำกับลูกเสือ สั่ง “ระวัง” (การสั่งให้ตกเท้าขวา)
-ก่อนถึงธงที่ 2 สีแดง (ธงทำความเคารพ) 2 ก้าว 
รองผู้กำกับลูกเสือ สั่ง “แลขวา – ทำ” (การสั่งให้ตกเท้าขวาเสมอ)
-เมื่อตับใดผ่านธงที่ 3 สีเขียว 
(ธงเลิกทำความเคารพ) ให้เลิกทำความเคารพ
11. ขบวนลูกเสือ-เนตรนารี เดินกลับเข้าสู่ที่ตั้งในสนาม และอยู่ในท่าพักตามระเบียบ
12. ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่งลูกเสือทำความเคารพประธานในพิธี “ตรงหน้า, ระวัง วันทยา – วุธ” วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงมหาฤกษ์
13. จบเพลงมหาฤกษ์ ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “เรียบ – อาวุธ”
14. ประธานเดินทางกลับ
15. ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง “แยก”
การทำความเคารพผู้อำนวยการลูกเสือ ผู้เป็นประธานในพิธีสวนสนามscouts-paradeก. การทำความเคารพของผู้ถือป้ายในขบวนสวนสนามลูกเสือ
1. เวลาอยู่กับที่ถือป้ายทั้งสองมือ คือมือขวากำคันป้ายชิดแผ่นป้าย มือซ้ายกำต่อลงมาชิดมือขวาโคนคันป้ายจรดพื้นตรงหน้ากึ่งกลางระหว่างปลายเท้าทั้งสอง เวลาทำความเคารพขณะอยู่กับที่ผู้ถือป้ายทำท่าตรงเท่านั้น
2. เวลาเคลื่อนที่ ให้ถือป้าย โดยมือขวาจับคันป้าย ในลักษณะคว่ำมือ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางจับที่สำหรับจับ (ถ้ามี) ถ้าไม่มีที่สำหรับจับ ก็ให้โคนคันป้ายวางอยู่บนอุ้งมือขวา โดยหันฝ่ามือเข้าหาตัว แขนขวาเหยียดตรงแนบลำตัว มือซ้ายจับคันป้ายในแนวเสมอไหล่ขวา และตั้งได้ฉากกับลำตัว หันหน้าป้ายไปข้างหน้า
3. การทำความเคารพในขณะเดินสวนสนาม ให้ถือป้ายตามปกติ ตามองตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น (ไม่ต้องสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธี) แต่ให้หันหน้าป้ายเข้าหาประธานในพิธีก่อนที่จะถึงธงที่ 1 ประมาณ 20 ก้าวและหันป้ายกลับที่เดิม เมื่อผ่านพ้นธงที่ 3 แล้ว
ข. การทำความเคารพของผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ 
1. เวลาอยู่กับที่ให้ผู้ถือธงอยู่อยู่ในท่าตรงและหย่อนเข่าขวา ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจรดกับพื้นประมาณโคนนิ้วก้อยเท้าขวา คันธงแนบกับลำตัวอยู่ร่องไหล่ขวา เวลาทำความเคารพ ให้ผู้ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธงติดต่อกันไป โดยอาศัยคำสั่งว่า “ตรงหน้า,ระวัง” ดังนี้
                1.1 ให้ผู้ถือธงใช้มือซ้ายไปจับคันธงชิดมือขวาและเหนือมือขวา แล้วใช้มือซ้ายยกคันธงขึ้นมาในแนวตรงเสมอไหล่ขวา ข้อศอกซ้ายตั้งเป็นมุมฉากกับลำตัว มือขวายังคงเหยียดตรง และจับคันธงไว้ แล้วทำกึ่งขวาหัน เมื่อได้ยินคำว่า “วันทยา – วุธ” (วงดุริยางค์ลูกเสือบรรเลงเพลงมหาฤกษ์)
                1.2 ค่อยๆ ลดปลายคันธงลงไปทางไหล่ซ้ายอย่างช้าๆ ตามจังหวะของเพลง พร้อมกับเลื่อนมือซ้ายที่กำคันธงอยู่ทางแนวไหล่ขวา มาทางด้านไหล่ซ้าย โดยการลดข้อศอกซ้ายลงแนบลำตัว จนคันธงอยู่ในแนวขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวไหล่ซ้ายห่างจากตัวเล็กน้อย มือขวาจับคันธงยกขึ้น จนแขนขวาเหยียดตรงไปทางขวามือตามคันธง และให้คันธงวางอยู่บนร่องระหว่างนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ของมือขวา (เมื่อเพลงบรรเลงไปได้ครึ่งเพลง)
                1.3 ครั้นแล้วให้ยกปลายคันธงกลับขึ้นช้าๆให้ได้จังหวะเช่นเดียวกับขาลงโดยใช้มือขวากดโคนคันธงลงจนคันธงตั้งตรง และแขนขวาแนบลำตัว ข้อศอกซ้ายตั้งเป็นมุมฉากกับลำตัว เมื่อเพลงบรรเลงจบลง
                1.4 เมื่อได้ยินคำสั่ง “เรียบ” ให้ทำกึ่งซ้ายหันกลับ และเมื่อได้ยินคำสั่ง”อาวุธ” ให้ลดคันธงลงจรดพื้นข้างนิ้วก้อยเท้าขวา นำมือซ้ายกลับลงข้างลำตัวและยืนอยู่ในท่าตรง
2. เวลาเคลื่อนที่ ให้แบกธงด้วยบ่าขวา ยกธงขึ้นด้วยมือขวาและใช้มือซ้ายช่วย นำคันธงขึ้นพาดบนบ่าขวา ต้นคันธงเฉลียงลงเบื้องล่าง ข้อศอกขวาทำมุม 90 องศากับลำตัวแล้วลดมือซ้ายกลับมาอยู่ที่เดิม
3. การทำความเคารพในขณะเดินสวนสนามให้ปฏิบัติ ดังนี้
                – เมื่อถึงธงที่ 1 สีเหลือง (ธงระวัง) ให้ลดธงลงจากท่าแบกมาแนบลำตัว โดยการเหยียดแขนขวาให้ตึง คันธงตั้งตรง มือขวากำคันธง ยกมือซ้ายมาจับคันธงในแนวไหล่ซ้าย ยกข้อศอกซ้ายให้ตั้งได้ฉากกับลำตัว
                – เมื่อถึงธงที่ 2 สีแดง (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงออกไปข้างหน้า มือซ้ายกำคันธงไว้ ให้คันธงเอนไปข้างหน้าประมาณ 45 องสา มือขวาแนบลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า ขนานกับพื้น 
                – เมื่อผ่านธงที่ 3 สีเขียว (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ยกธงขึ้นมาอยู่ในท่าแบกธงตามเดิม และลดมือซ้ายลงแกว่งแขนตามปกติ
ค. การทำความเคารพของลูกเสือในขณะเดินสวนสนาม
ด้านหน้าปะรำพิธี จะมีธงเป็นเครื่องหมายอยู่ 3 ธง ธงที่ 1 สีเหลือง คือธงเตรียมเคารพ ธงที่ 2 สีแดง คือธงเคารพ และธงที่ 3 สีเขียว คือ ธงเลิกทำความเคารพ
1. ก่อนถึงธงที่ 1 ลูกเสือในแถวเมื่อได้ยินรองผู้กำกับสั่ง “ระวัง” ให้ลูกเสือทุกคนตบเท้าอย่างเข้มแข็ง ก่อนถึงธงที่ 2 เมื่อได้ยินรองผู้กำกับสั่ง “แลขวา – ทำ” ให้ลูกเสือทุกคนสะบัดหน้าไปทางขวา ยกเว้นคนที่ขวาสุดของแถวไม่ต้องสะบัดหน้า คงมองตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น ลูกเสือที่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เวลาสะบัดหน้าต้องแกว่งแขนด้วย ส่วนลูกเสือที่ไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เวลาสะบัดหน้าแขนทั้ง 2 ข้างไม่แกว่ง
หมายเหตุ : ลูกเสือเมื่อได้ยินคำสั่ง “แลขวา – ทำ” ลูกเสือทุกคนต้องทำ (ยกเว้นคนขวาสุด) ถึงแม้จะยังไม่ถึงธงที่ 2 ก็ตาม เมื่อถึงธงที่ 3 ตับใดผ่านก่อนก็ให้สะบัดหน้ากลับโดยพร้อมเพรียงกัน
2. -ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ไม่มีไม้ถือ เมื่อถึงธงที่ 2 ให้ทำวันทยหัตถ์พร้อมกับสะบัดหน้าไปทางขวา แขนไม่แกว่ง จนผ่านธงที่ 3 จึงสะบัดหน้ากลับ และเดินแกว่งแขนตามปกติ     -ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีไม้ถือ ให้เดินท่าบ่าอาวุธ เมื่อถึงธงที่ 1 ให้ยกไม้ถือขึ้นมาเสมอปาก ห่างจากปากประมาณ 1 ฝ่ามือ แขนซ้ายยังคงแกว่งอยู่ เมื่อถึงธงที่ 2 ให้ทำท่าวันทยาวุธ พร้อมกับสะบัดหน้าไปยังประธานในพิธี แขนซ้ายไม่แกว่ง เมื่อผ่านธงที่ 3 ให้สะบัดหน้ากลับ ยกไม้ขึ้นเสมอปาก แล้วลดลงในท่าบ่าอาวุธ และเดินแกว่งแขนตามปกติ
3. รองผู้กำกับลูกเสือ เมื่อถึงธงที่ 1 ให้สั่ง “ระวัง” (พร้อมกับยกไม้ถือขึ้นมาเสมอปาก) ให้แถวลูกเสือเดินเข้าระเบียบอย่างดีที่สุด และเมื่อใกล้ถึงธงที่ 2 (ประมาณ 2 ก้าว) ให้รองผู้กำกับสั่ง “แลขวา – ทำ” (การสั่งให้ตกเท้าขวาเสมอ) ขณะเดียวกันให้ผู้สั่งทำความเคารพด้วยไม้ถือพร้อมกับคำว่า “ทำ” (ตัวเองทำวันทยาวุธ พร้อมกับสะบัดหน้าไปทางขวา แขนซ้ายไม่แกว่ง) จนผ่านธงที่ 3 จึงสะบัดหน้ากลับเลิกทำความเคารพ แล้วเดินแกว่งแขนตามปกติ
ที่มา : https://www.facebook.com/nsothailand/posts/223524544416783โดย ว่าที่ ร้อยโทณัฏฐ์ ยุวยุทธประธานฝ่ายสวนสนามวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ
ภาพประกอบจาก : พิธีสวนสนามและทบทวนคำปฏิญาณลูกเสือ โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จังหวัดสุรินทร์ 

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560



          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน ตามมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลองไปดูความเป็นมาของวันต่อต้านยาเสพติด พร้อมคําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดกัน

          ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด จนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" นั่นเอง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติด

          และในประเทศไทยนั้น ก็มิได้ละเลยถึงปัญหายาเสพติด เพราะรู้ว่าเรื่องนี้สร้างความเดือดร้อนแก่ตัวประชาชนเอง และครอบครัว รวมถึงประเทศชาติอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีใจความว่า  

          "....ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปราม ยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง....." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2545

          เมื่อได้รู้ถึงปัญหายาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลกแล้ว วันนี้ กระปุกดอทคอม ขอพาไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของ "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" กันดีกว่า


ประวัติความเป็นมาวันยาเสพติด

          ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" 
          โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม 2530 ซึ่งประเทศไทยหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดเป็นประจำเสมอมา ดังนั้น เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนไทยเกิดความตระหนักว่ายาเสพติดเป็นปัญหาของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข สำนักงาน ป.ป.ส. จึงขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมกัน "สวมเสื้อสีขาว" โดยพร้อมเพรียงกันในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

          ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งในปี 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ 

          ต่อมา ในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519

          ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา

วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย
วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2560
วันต่อต้านยาเสพติด

 
          สำหรับปี 2560 เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 รัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้งดงานมหรสพ การจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ และกำหนดให้จัดกิจกรรมเป็นการถวายความอาลัยเพื่อให้คนในชาติได้แสดงความจงรักภักดีแด่ รัชกาลที่ 9 และร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 และเนื่องในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก สำนักงาน ป.ป.ส. จึงกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมรณรงค์ภายใต้กรอบแนวคิด "ทำดีเพื่อพ่อ สานต่อแก้ปัญหายาเสพติด" 26 มิถุ​นายน วันต่อต้านยาเสพติดโลก โดยร่วมสวมเสื้อสีขาว ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2560

วันต่อต้านยาเสพติด

          นอกจากนี้ยังได้คัดเลือกนักกีฬา พิธีกร ศิลปิน ดารา นักร้อง เป็นต้นแบบเยาวชนร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่อต้านยาเสพติด ประจําปี 2560 (พรีเซ็นเตอร์) จํานวน 6 คน ดังนี้

          1. พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ (น้ำตาล) อายุ 25 ปี ศิลปิน/นักแสดง
          2. ทิสานาฎ ศรศึก (นาว) อายุ 23 ปี ศิลปิน/นักแสดง
          3. ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร (โต๋) อายุ 33 ปี นักร้อง/นักแสดง
          4. ปลื้มจิตร์ ถินขาว (หน่อง) อายุ 33 ปี นักกีฬาวอลเลย์บอล
          5. จุฑาวุฒิ ภัทรกำพล (มาร์ช) อายุ 24 ปี นักแสดง/พิธีกร
          6. ระดับดาว ศรีระวงศ์ (มาตัง) อายุ 17 ปี นักร้อง/นักแสดง

วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2559
วันต่อต้านยาเสพติด

วันต่อต้านยาเสพติด
          เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี วันที่ 9 มิถุนายน 2559 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2559 เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ โดยการทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสมหามงคล 70 ปี ทรงครองราชย์ ภายใต้กรอบแนวคิด "ประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัย ยาเสพติด เฉลิมพระเกียรติ 70 ปี ทรงครองราชย์" (Civil-State Unity for our Society Free from Drugs In Attribute to the Seventieth Anniversary Celebrations of His Majesty’s Accession to the throne) โดยเชิญชวนให้ประชาชนสวมเสื้อสีเหลืองในวันที่ 26 มิถุนายน
 

          สำหรับวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2559 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้พิจารณาบุคคลที่มีความประพฤติดีและมีชื่อเสียง อาทิ นักกีฬา พิธีกร ศิลปิน/ดารา เพื่อคัดเลือกให้เป็น "ต้นแบบเยาวชนร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2559" (พรีเซ็นเตอร์) จำนวน 6 คน ดังนี้ 
          1. เด็กหญิงณัชชาวีณ์ โกศลพิศิษฐ์ (น้องณัชชา) นักแสดงสังกัดอิสระ           2. นายชนาธิป สรงกระสินธ์ (เจ)  นักกีฬาทีมชาติไทย          3. นายณัฐวุฒิ สกิดใจ (ป๋อ) ศิลปินจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3          4. นางสาวฝนทิพย์ วัชรตระกูล (ปุ๊กลุก) ศิลปินจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7          5. นายนภัทร อินทร์ใจเอื้อ (กัน) ศิลปินสังกัดค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่           6. นางสาวพรพิมล เฟื่องฟุ้ง (เปาวลี) ศิลปินสังกัดค่ายแกรมมี่ โกลด์ ในบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่


วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2558
วันต่อต้านยาเสพติดโลก 

          สำหรับปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ให้คำขวัญเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด 2558 ว่า "คิดดี ทำดี ต่อต้านยาเสพติด"

          ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2558 ซึ่งได้คัดเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ นักกีฬา พิธีกร ศิลปิน นักแสดง จากสังกัดต่าง ๆ โดยพิจารณาคุณสมบัติในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความประพฤติ ผลงานที่อยู่ในความสนใจ การศึกษา ซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่มีประวัติยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 6 คน คือ 
  
             1. ร.ต.ท. เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (ซิโก้) หัวหน้าผู้ฝึกสอนนักฟุตบอลชายทีมชาติไทย

             2. นายวรินทร ปัญหกาญจน์ (เกรท) นักแสดง สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

             3. นายมิกค์ ทองระย้า (มิกค์) นักแสดง สังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

             4. นางสาวปรีชญา พงษ์ธนานิกร (ไอซ์) นักแสดง สังกัด GTH (บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด)

             5. นางสาวฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (ซี) ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการไอที

             6. เด็กหญิงกุลฑีรา ยอดช่าง (น้องอันดา) นักแสดงเด็กมากความสามารถ


วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2557
วันต่อต้านยาเสพติด 2557

          ในปี 2557 เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ซึ่งเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดกิจกรรม "มหกรรมหนังสั้นต่อต้านยาเสพติด" ภายใต้ Concept ว่า "Action Against Drugs Yes I do" เพื่อให้เยาวชนทั่วประเทศส่งผลงานหนังสั้นเป็นสื่อต้านยาเสพติดระดับประเทศเข้าประกวด

          ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ในโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย โดยมีการมอบโล่เชิดชูเกียรติในแก่บุคคลและเยาวชนที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดมาอย่างต่อเนื่อง        

          สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่ได้รางวัลเชิดชูเกียรติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย

             - อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม)
             - แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ 
             - พันโท วันชนะ สวัสดี (ผู้พันเบิร์ด) 
          
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2557

          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2557 แนวคิด : "สังคมปลอดภัย ชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน"

วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556

วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันต่อต้านยาเสพติด 2556

วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันต่อต้านยาเสพติด 2556
วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันต่อต้านยาเสพติด 2556


          ในปี 2556 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก็ยังได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556 เพื่อให้ประชาชนรับรู้ รับทราบ และเห็นถึงความสำคัญของโทษ และพิษภัยยาเสพติด 

          สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2556 ได้แก่

             - โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
             - กรีน อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล
             - พิกเล็ท ชาราฎา อิมราพร
             - โฟกัส โฟกัส จีระกุล
             - โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556

          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556 แนวคิด : "คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด" ภายใต้คำขวัญ "ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน"


วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2555
วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันต่อต้านยาเสพติด 2555

วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันต่อต้านยาเสพติด 2555
 

          เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 รัฐบาลกำหนดให้หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติ ตลอดปี 2555 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยต่อปัญหายาเสพติด  ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ หรือ ศพส. จึงให้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด 26 มิถุนายน ประจำปี 2555 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา 

          สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2555 ได้แก่

             - แก้มบุ๋ม พิมพ์นิภา จิตติธีรโรจน์
             - เต๋อ ฉันทวิชช์ ธนะเสวี
             - พรีม รณิดา เตชสิทธิ์
             - เก้า จิรายุ ละอองมณี
             - ฉัตร ปริยฉัตร ลิ้มธรรมมหิศร

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2555

          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2555 คือ "พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เทิดไท้ 80 พรรษา มหาราชินี"

วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2554

          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2554 เพื่อให้ประชาชนรับรู้ รับทราบ และเห็นถึงความสำคัญของโทษ และพิษภัยยาเสพติด เนื่องจากปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกัน ดำเนินงานด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ไม่เพียงแต่จะทำให้ปัญหาเบาบางลง ยังเป็นการเทิดพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 และทรงเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยแนวทางการพัฒนาทางเลือกอีกด้วย

          สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2554 ได้แก่

             - น้ำฝน พัชรินทร์ จัดกระบวนพล
             - มิน พีชญา วัฒนามนตรี 
             - หนูนา หนึ่งธิดา โสภณ  
             - รถเมล์ คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์
             - อั๋น วิทยา วสุไกรไพศาล   

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2554

          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2554 คือ "สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน" 


วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2553


          รัฐบาลได้ประกาศนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันฯ เป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงาน และเพื่อเร่งรัดให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปตามนโยบายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สามารถลดระดับปัญหายาเสพติดและขจัดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับชาติเป็นแผนงานหลัก เรียกว่า "ปฏิบัติการประเทศไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติดยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ระยะที่ 2"

          ทั้งนี้ มีเป้าหมายในการลดระดับปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือ กรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกชุมชน-ประชาสังคม และเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาวะวิกฤต

          สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2553 ได้แก่
             - น้ำชา ชีรณัฐ ยูสานนท์
             - ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ 
             - อ๋อม อรรคพันธ์ นะมาตร์
             - มาร์กี้ ราศรี บาเล็นซิเอก้า
             - โจ AF2 ภาณุพล เอกเพชร

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2553

          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2553 คือ "ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด"


วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2552

          สำหรับวันต่อต้านยาเสพติดปี 2552 รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน เพื่อเป็นเกราะป้องกันยาเสพติดทุกระดับ ภายใต้แนวคิด "5 รั้วล้อมไทย พ้นภัยยาเสพติด" โดยตั้งทีมทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานภาคีด้านยาเสพติด ทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งผลปฏิบัติการพบว่า สถิติการจับกุมยาเสพติดมีมากขึ้น แต่ละเดือนสามารถสกัดยาเสพติดได้เป็นแสนเม็ด โดยเฉพาะรั้วชายแดนที่สำคัญที่สุด เพราะยาเสพติดที่ใช้ในไทย ไม่ได้ผลิตในไทย แต่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ การสกัดกั้นไม่ให้ยาเสพติดเข้ามาทางแนวชายแดนจึงเป็นการป้องกันที่สำคัญมาก 

          ทั้งนี้ ได้มีการจัดงานมหกรรม "5 รั้วล้อมไทย พ้นภัยยาเสพติด" ที่เมืองทองธานี ในวันที่ 26 มิถุนายนนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดให้กับประชาชน ชุมชน และเยาวชน 

          สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2552 ได้แก่

             - คูณ คณิน บัดติยา เป็นตัวแทนรั้วชายแดน 
             - รุจ ศุภรุจ เตชะตานนท์ (รุจ เดอะสตาร์) เป็นตัวแทนรั้วชุมชน 
             - ก้อย รัชวิน วงศ์วิริยะ เป็นตัวแทนรั้วสังคม 
             - พลอย ชิดจันทร์ รุจิพรรณ ตัวแทนรั้วโรงเรียน 
             - แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ตัวแทนรั้วครอบครัว

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2552

          คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2552 แนวคิด : "ทำความดี ตามคำพ่อ" ภายใต้คำขวัญ "รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"

รวมคำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2560 : "ทำดีเพื่อพ่อ สานต่อแก้ปัญหายาเสพติด" "Do Good Deeds for Dad against Drugs" 26 June, International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2559 : "ประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัย ยาเสพติด เฉลิมพระเกียรติ 70 ปี ทรงครองราชย์"
          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2558 : "คิดดี ทำดี ต่อต้านยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2557 : "สังคมปลอดภัย ชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2556 : "คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด" ภายใต้คำขวัญ "ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน" 

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2555 : "พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เทิดไท้ 80 พรรษา มหาราชินี"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2554 : "สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน" 

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2553 : "ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2552 : "ทำความดี ตามคำพ่อ" ภายใต้คำขวัญ "รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2551 : "รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2550 : "รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2549 : "60 ปี ทรงครองราชย์ รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2548 : "พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2546 : "พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2545 : "พลังมวลชน พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด : The Power of people can conquer illicit drugs"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2544 : "รวมพลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2543 : "รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2542 : "รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2541 : "ร่วมใจเล่นกีฬา ใช้ชีวิตอย่างรู้ค่า ไม่พึ่งพายาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2540 :
 "เล่นกีฬา ใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2539 : "มุ่งทำความดี มีวินัย หลีกไกลยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2538 : "ล้อมรักให้ครอบครัว เหมือนล้อมรั้วป้องกันยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2537 : "ยาเสพติดป้องกันได้ ด้วยความเข้าใจจากครอบครัว"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2536 : "ผิดกฎหมาย ทำลายชีวิต หากติดสารระเหย"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2535 : "สมองฝ่อ รักษาไม่หาย คือพิษร้ายจากยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2534 : "ประสาทหลอน เป็นโรคจิตวิกลจริต เพราะกินยาบ้า"


วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันต่อต้านยาเสพติด


คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2559 : "A message of hope: Drug use disorders are preventable and treatable."

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2558 : "Think Health, Not Drugs"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2557 : "Drug use disorders are preventable and treatable"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2556 : "Make health your "new high" in life, not drugs."

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2555 : "Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs" ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2554 : "Global Action for Healthy Communities Without Drugs" 

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2553 : "Health is the ongoing theme of the world drug campaign."

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2550-2552 : "Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs." ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2549 : "Value yourself...make healthy choices"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2548 : "Drugs is not child's play"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2547 : "Drugs : treatment works"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2546 : "Let's talk about drugs"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2545 : "Substance abuse and HIV/AIDS"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2544 : "Sports against drugs"

          คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2543 : "Facing reality: denial, corruption and violence"


          เห็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราร่วมมือร่วมใจกันคว่ำบาตรยาเสพติดด้วยโครงการต่าง ๆ กันขนาดนี้ เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตประเทศทั้งหลายก็ต้องช่วยกันอีกแรงด้วยนะจ๊ะ เพราะหากทุกฝ่ายในสังคมร่วมกัน อนาคตลูกหลานเหลนโหลนของเราคงจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหายาเสพติดอีก 

ภาพจาก สำนักเลขาธิการ สำนักงาน ป.ป.ส.unodc.org

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
สำนักเลขาธิการ สำนักงาน ป.ป.ส. 
 unodc.org

วันสุนทรภู่

วันสุนทรภู่
        
          วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน ประวัติและผลงานของสุนทรภู่มีความเป็นมาอย่างไร กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่ มีอะไรบ้าง เรามีบทความเรื่องนี้มาฝากกัน 

          ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม  หรือ "มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ "เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ...

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 08.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) 

          บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม  

          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ "พ่อพัด" ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป 


          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง "นิราศพระบาท" พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก "นิราศพระบาท" ก็ไม่ปรากฏผลงานใด ๆ ของสุนทรภู่อีกเลย 

          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และเชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ"
          "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่าง ๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ "รำพันพิลาป" โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 

          ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จนพระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่จึงลาสิกขา รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขา และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย 
          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" 
          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ "พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน, "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"

ผลงานของสุนทรภู่
          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…

 ประเภทนิราศ 
          - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง 

          - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา 

          - นิราศภูเขาทอง  (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา 

          - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง 

          - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา 

          - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา 

          - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา

          - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี 

          - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน
          เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

ประเภทสุภาษิต          - สวัสดิรักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

          - สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

          - เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร          - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา
          - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)

          - เรื่องพระราชพงศาวดาร

ประเภทบทเห่กล่อม
          แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร และเห่เรื่องกากี

ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่

          ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ "วรรคทอง" ยกตัวอย่างเช่น


บางตอนจาก นิราศอิเหนา

จะหักอื่นขืนหักก็จักได้
หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก
สารพัดตัดขาดประหลาดนัก
แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ

บางตอนจาก พระอภัยมณี


บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด 
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)


***********************

แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)


***********************


อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา


***********************


เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก     
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล


***********************


ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")


บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ 
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก 
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก 
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย


***********************


อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน


***********************

จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ


***********************

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ


***********************

รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา
จึงจะเบาแรงตนช่วยขวนขวาย
มีข้าไทใช้สอยค่อยสบาย
ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง


บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก
ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน
จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย


***********************


ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ
เจ้าจงอุตส่าห์ทำสม่ำเสมียน 

(ขุนแผนสอนพลายงาม)

บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ


***********************

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ


บางตอนจาก นิราศพระบาท

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล
ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง

ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก
เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง
พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล... 

ที่มาของวันสุนทรภู่          องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไปเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ 

          ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ และได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 

          
ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป
 

          ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง 

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่
          1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
          2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานของสุนทรภู่
          3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่




อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก